เมื่อ : 15 ม.ค. 2568

โครงการการพัฒนาหลักสูตรเสริมศักยภาพและจรรยาบรรณด้านการวิจัย ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดการอบรมนำร่องหลักสูตรเสริมสมรรถนะบุคลากรสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อพัฒนางานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ (THRU) ซึ่งมีบุคลากรจากทั่วประเทศเข้าร่วมการอบรมกว่า 50 คน ตั้งแต่วันที่ 14 – 16 มกราคม 2568 ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา อรุณพิพัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยที่สามารถนำผลของงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ว่า 

“การอบรมหลักสูตร THRU เป็นกิจกรรมนำร่องที่บรรจุเนื้อหาที่มุ่งมั่นยกระดับให้บุคลากรสามารถต่อยอดงานวิจัยเบื้องต้น และพัฒนาเป็นงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในมิติต่าง ๆ เช่น นโยบาย ชุมชน และสาธารณะ ตลอดจนการพัฒนาทัศนคติที่เน้นด้านจรรยาบรรณ ความรู้ และทักษะที่จำเป็นอย่างรอบด้านให้กับบุคลากร พร้อมกันนี้ยังมีรูปแบบการอบรมที่สนับสนุนการสร้างเครือข่ายนักวิจัยระดับปรมาจารย์ – นักวิจัยที่พร้อมต่อยอด - ผู้ใช้ประโยชน์ เพื่อให้สามารถนำผลของงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ให้สำเร็จเป็นจริงได้”

ภายในการอบรมหลักสูตร THRU ได้รับเกียรติจาก ดร.เตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “งานวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: ความท้าทายและโอกาสในการนำไปใช้ประโยชน์” ซึ่งได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาบุคลากรให้สามารถพัฒนางานวิจัยที่นำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้เองต่อไป เช่น การคาดการณ์อนาคต (Strategic Foresight) จรรยาบรรณการวิจัย และทักษะการสื่อสาร 
สำหรับการอบรมหลักสูตร THRU ประกอบด้วย 5 โมดูลการเรียนรู้ และระบบโค้ชชิ่ง 3 ระดับ โดยตลอดทั้ง 3 วัน ของการอบรมแบบ On-Site ผู้เข้าอบรมจะได้รับการบ่มเพาะความรู้และทักษะในด้านต่าง ๆ ผ่านการ Workshop และ Coaching 

โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติเป็นผู้บรรยายในหัวข้อแรก “Module 1: Global and Local Perspective” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดของการพัฒนางานวิจัยจากมุมมองในระดับโลกและท้องถิ่น

“สังคมศาสตร์ของเรา ในความเห็นของผมบ มีการรับเอาสังคมศาสตร์ของตะวันตกมาใช้อย่างมาก โดยเชื่อว่าสังคมศาสตร์เหล่านั้นเป็นศาสตร์สากล หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกับความเป็นสากล แต่เรายังไม่ได้พยายามสร้างสังคมศาสตร์ที่มีความเป็นพหุศาสตร์หรือพหุสังคมศาสตร์ เช่น สังคมศาสตร์แบบตะวันออก สังคมศาสตร์แบบตะวันออกกลาง หรือแม้แต่สังคมศาสตร์แบบไทยของเราเอง เรายังไม่ค่อยกล้าคิดในเรื่องนี้
เหตุผลหนึ่งที่เป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะเรามองว่าสังคมศาสตร์ต้องเป็นศาสตร์สากล คล้ายกับวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับผมแล้ว ผมมองว่าสังคมศาสตร์มีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก มันเป็นศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับบริบทของวัฒนธรรม (relative to culture) ไม่ใช่ศาสตร์ที่เป็นสากล (universal) เหมือนวิทยาศาสตร์
ดังนั้น สังคมศาสตร์บางประเภทอาจสามารถใช้ได้ดีกับบริบทของตะวันตก แต่กลับใช้ไม่ได้ผลกับบริบทของตะวันออกหรือสังคมไทย อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้มองว่าเราควรละเลยสังคมศาสตร์ของตะวันตกนะครับ แต่เราควรนำมาใช้เป็นพื้นฐานและพัฒนาแนวคิดของเราเองต่อไป
ความคิดของผมในแง่นี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น ”post-Western” แต่ไม่ใช่ ”post-Western” แบบที่หลายคนเข้าใจทั่วไป วิธีที่ผมหมายถึงคือเราควรพัฒนาให้ก้าวพ้นยุคที่มุ่งเน้นแต่ยูโรเซนทริซึม (Eurocentrism) แต่ไม่ได้ปฏิเสธหรือทิ้งสิ่งที่ตะวันตกสร้างขึ้นมา เพียงแค่ทำให้มันยืดหยุ่นและสามารถผสมผสานสิ่งที่เป็นของตะวันออก เช่น จีน อินเดีย หรือแม้แต่ไทย เข้าไปด้วย”
ดร.เอนก กล่าว

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ

REPORT
สภาสังคมสงเคราะห์ฯ ได้ร่วมออกร้านในงานกาชาด ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม – 22 ธันวาคม 2567 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร บูธที่ 6.6 ประตู 1 ฝั่งถนนวิทยุ ขอเชิญชวนทุกท่านเที่ยวงานกาชาด ประจำปี 2567 มาร่วมสนุกกับกิจกรรมมากมายของร้านสภาสังคมสงเคราะห์ฯ ซึ่งประกอบด้วย การจำหน่ายสลากกาชาด - บัตรนำโชค เกมบิงโก จับฉลากพาโชค เกมปารูปภาพ เกมยิงปืนยาวโบราณ เกมปากระป๋องหรือปาสิ่งของ เกมโยน ลูกบอล เกมโยนห่วง เกมยิงปืนอัดลม เกมปาโฟม เกมปาลูกโป่ง เกมตักไข่ การละเล่นย้อนยุค พร้อมทั้งมีการจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และร้านจิปาถะ By สภาสังคมสงเคราะห์ฯ จำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ ตลอดจนความบันเทิงโดยนักแสดง และศิลปิน อาทิ ป๊ายปาย โอริโอ้ แอ๊ด คาราบาว จา สิงห์ชัย ออยเลอร์ อายจิงจิง โจนัส แอนเดอร์สัน โน๊ต - ณัฐกานต์ ประสพสายพรกุล ตูน - สุภัชชา ปิตินันท์ นก บริพันธ์ เอ็ม เทพบุตร โอ่ง - สลักจิต ดวงจันทร์ หนิง - จอมขวัญ กัลยา นิตา ลลดา ฟิวส์ - กิติกร โพธิ์ปี บิ๊ก จักริน The Golden Song พลอย อิสรีย์ วง ZOLAR วง MEINHARDT ศิลปินจาก Golden Singer ศิลปินจาก Kidzaaa ซีซั่น1 และ อดีต วงไอดอล Dearest คณะตลกแม็กกี้ เชิญยิ้ม การแสดงนาฏยภัทร จากโรงเรียนนาฏศิลป์ไทย การแสดงบอม บอม ต่อตัว นักแสดงจากช่อง3 และช่อง7HD โดยรายได้จากการออกร้านบำรุงสภากาชาดไทย
12 ธ.ค. 2567