สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทยร่วมกับ ม.รามคำแหง ม.เกษตรศาสตร์ และสมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลของญี่ปุ่นจัดประชุมวิชาการใหญ่ในเอเชีย 5thAsian Marine Biology Symposium (AMBS)
การประชุมวิชาการนานาชาติชีววิทยาทางทะเลแห่งเอเชียครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 5 โดยก่อนหน้านี้มีการจัดประชุมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 ที่ภูเก็ต ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2557 ที่เมืองเชจู ประเทศเกาหลีใต้ ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2560 ที่เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น และครั้งที่ 4 ที่เมืองไทเป ไต้หวัน การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่นักวิชาการด้านชีววิทยาทางทะเลในเอเซียจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยในประเด็นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหัวข้อหลักของการประชุม คือ “รายงานสถานการณ์ปัจจุบันของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศชายฝั่ง รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืน” ซึ่งมีนักวิชาการชั้นนำของเอเซียจากหลายประเทศเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 150 คน นำเสนอผลงานวิจัยที่โดดเด่นจำนวน 117 เรื่อง ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) Biology Ecology and Taxonomy of Marine Organisms; 2) Fisheries Mariculture and Ocean Farming; 3) Physical Oceanography (Remote Sensing); 4) Biogeochemistry of Coastal Ecosystem; 5) Marine Conservation and Management; 6) Marine Pollution and Ecotoxicology; 7) Impact of Climate Change on Marine Organisms and Ecosystems; 8) Marine Omics; 9) Marine Bioinvasion; 10) General Session of Marine Biology
และยังมีการจัดประชุมเครือข่าย “MBON & ML2030: Networking Marine Biodiversity Research in East and Southeast Asia” และ “Collaboration Networking of the Research in Blue Ocean: the Thailand Reinventing University”
การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนักวิทยาศาสตร์รับเชิญชั้นนำเป็นวิทยากรบรรยายหลัก (Keynote Speaker) ในประเด็นสำคัญของโลก จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ Professor Chang-Keun Kang (Republic of Korea) / Professor Hsing-Juh Lin (Taiwan) / Professor Aileen Tan Shau Hwai (Malaysia) / Dr. Thon Thamrongnawasawat (Thailand) / Professor Haruko Kurihara (Japan)
ขณะนี้โลกและเอเชียกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษทางทะเล และการเสื่อมโทรมของพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งในท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมของเอเชีย การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่เพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้แก่นักวิชาการและนักวิจัยเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของโลกร่วมกันอีกด้วย
นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมได้ที่ https://www.ambs2024.com/ ภายในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเบิกจ่ายจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบราชการและหน่วยงานต้นสังกัด หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ดร.สิทธิพร เพ็งสกุล (0860028444)